เคล็ดลับซื้อรถมือสอง รวมเทคนิคและวิธีการเลือกซื้อรถมือสอง คลิก!! More

การแซงรถ กับกฎหมายไทย


“อุบัติเหตุที่เกิดจากการแซง ส่วนมากจะรุนแรงและเกิดขึ้นบ่อย ๆ เหมือนกันโดยเฉพาะในช่วงเทศกาล ซึ่งมีผลมาจากพื้นฐานทางความคิด การตัดสินใจที่ผิดพลาด และความเมาของผู้ขับขี่เป็นส่วนใหญ่ ข้อมูลทางสถิติของเมืองไทยระบุว่า อุบัติเหตุที่มีมูลเหตุมาจากการแซง ครองอันดับที่ 3-4 จากกว่า 20 รายการเป็นอย่างนี้ทุกปี ดัชนีนี้ชี้วัดถึงความ “บ่อย” และระดับความเสี่ยงของอุบัติเหตุที่เกิดจากการแซงได้ชัดเจนที่สุด ซึ่งแต่ละครั้งมักรุนแรงถึงขั้นบาดเจ็บสาหัสหรือตายเสมอ ๆ การชนประสานงานคือแรงบวกของรถ 2 คันแรงปะทะสูง มีโอกาสสูงมาก ๆ ที่จะได้ไปเกิดใหม่”

กฎหมายกำหนดไว้ด้วยความเป็นห่วง มีนัยยะโดยสรุปว่า

1.      การแซงรถในทางเดนิรถที่ไม่ได้แบ่งช่องทางเดินรถเอาไว้ ผู้ขับขี่ต้องให้สัญญาณก่อนจะแซง คือต้องสื่อสารให้เขารู้ตัวก่อนลงมือปฏิบัติการ โดยจะเลือกใช้ไฟกะพริบหน้าหลาย ๆ ครั้ง หรือสัญญาณแตรที่ต้องดังพอให้ผู้ขับขี่คันหน้าได้ยิน และด้วยความเป็นห่วงอีกนั่นเอง กฎหมายังระบุต่อไปอีกว่า ผู้ขับขี่คันหน้าต้องรู้ตัวว่าคันหลังของแซง เพราะกฎหมายบอกว่าต้องให้สัญญาณตอบกลับไปด้วย โดยการให้ไฟยกเลี้ยวด้านหน้าหรือด้านข้างของรถ หรือจะให้สัญญาณมือก็ได้ โดยการยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอระดับไหล่ แล้วโบกมือไปข้างหน้าหลาย ๆ ครั้ง
2.      การแซง ต้องแซงด้านขวาและต้องให้ห่างจากรถคันที่ถูกแซงพอสมควรด้วย เมื่อแซงผ่านไปแล้วจะต้องขับชิดซ้ายของทางเดินรถ กฎหมายมีข้อยกเว้นให้แซงซ้ายได้เหมือนกัน แต่มีเงื่อนไข ไม่ใช่แซงฟรีครับ
3.      ข้อยกเว้นที่กำหมายยอมให้แซงได้คือ (ก) รถที่จะถูกแซงกำลังจะเลี้ยวขวา หรือให้สัญญาณว่าจะเลี้ยวขวา (ข) ทางหรือถนนนั้นเป็นทาง “วันเวย์” แต่ต้องมีช่องทางเดินรถตั้งแต่ 2 ช่องทางขึ้นไป นอกจากนี้ยังกำกับต่อไปอีกว่า การแซงซ้ายจะทำได้ก็ต่อเมื่อไม่มีรถอื่นตามมาในระยะกระชั้นชิด และต้องมีความปลอดภัยพอ

เหตุผลที่กฎหมายระบุไว้หลายบทหลายมาตรา ก็เพราะเหตุที่การแซงรถมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุสูงและมักจะเป็นอุบัติเหตุร้ายแรงเสมอ เพียงแค่กฎหมายก็มิอาจป้องกันอุบัติเหตุได้ทั้งหมดทั้งสิ้น หากไม่บวกทักษะและจิตสำนึกด้านความปลอดภัยเข้าไปด้วย

บทความรถยนต์ที่เกี่ยวข้อง

บทความรถยนต์ที่น่าสนใจ