เคล็ดลับซื้อรถมือสอง รวมเทคนิคและวิธีการเลือกซื้อรถมือสอง คลิก!! More

เทคนิคการดูแลรถยนต์: ดูแลน้ำมันเพาเวอร์พวงมาลัย


เทคนิคการดูแลรถยนต์: ดูแลน้ำมันเพาเวอร์พวงมาลัย

น้ำมันพวงมาลัยเพาเวอร์จริง ๆ ก็คือน้ำมันชนิดเดียวกับที่ใช้ในระบบเกียร์อัตโนมัติทั่ว ๆ ไป อย่าได้อุตริไปนำน้ำมันเบรคมาใช้เชียวนะครับ รับรองว่าได้ซ่อมระบบพวงมาลัยกันทั้งหมดแน่ โดยความเป็นจริงแล้วระดับน้ำมันเพาเวอร์ของพวงมาลัยจะไม่ลดลง แต่ถ้าเมื่อใดระดับน้ำมันเพาเวอร์ลดลงก็แสดงให้เราทราบว่าในระบบพวงมาลัยเพาเวอร์มีการรั่วซึมต้องตรวจเช็คอย่างเร่งด่วน อย่ารอให้น้ำมันเพาเวอร์แห้งจนหมด ระบบคราวนี้นอกจาจะหนักแรงในการหมุนพวงมาลัยแล้วชิ้นส่วนภายในระบบเพาเวอร์อาจเกิดความเสียหายได้ง่ายนะ การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเพาเวอร์นั้นไม่ยากเกินความสามารถของทุกท่านครับแต่ก็ไม่ง่ายจนเกินไป

เทคนิคการดูแลรถยนต์: จริง ๆ แล้วเรามีวิธีการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเพาเวอร์แบบยุ่งยากกับแบบไม่ยุ่งยาก แบบยุ่งยากต้องมีการถอดน็อตคลาย   แป๊ปท่อส่งน้ำมันออก ส่วนวิธีง่ายก็แค่ดึงสายยางที่ตัวกระปุกน้ำมันเพาเวอร์ออก คราวนี้เราจะมาเล่นวียากกันสักนิดดีกว่า เอาเป็นวิธีคลายน็อตที่ตัวท่อแป๊ปส่งน้ำมันดีกว่าครับ

เมื่อเรามุดลงไปดูที่ตัวแร็คแอนด์พิเนี่ยน จะเห็นท่อแป๊ปน้ำมันเข้าไปฝังอยู่บริเวณตรงกลางและด้านข้าง เครื่องมือที่ใช้ก็แค่ประแจปากตายเบอร์ 12 ตัวเดียว บวกกับฝืมือทางช่างอีกนิดๆ เริ่มต้นจากขั้นแรก ถ้าเราวิ่งรถมาร้อน ๆ ต้องรอให้หายร้อนสักนิดก่อนเพราะน้ำมันเพาเวอร์มีอุณหภูมิสูงเช่นกันครับ เมื่อเริ่มเย็นลงแล้วใช้แม่แรงยกให้ล้อคู่หน้าลอยจากพื้น เอาแค่สามารถขยับได้ง่ายก็พอครับ ไม่ต้องยกสูงให้เปลืองแรงอย่าลืมนำสามขามารองไว้ในจุดที่ปลอดภัยเพราะเราต้อมุดเข้าไปทำภารกิจใต้ท้องรถจากนั้นเปิดฝากระปุกน้ำมันเพาเวอร์ที่อยู่ในห้องเครื่องเตรียมไว้เลย ถ้ามีผู้ช่วยสักคนจะดีมาก ๆ จากนั้นก็มุดลงไปเพื่อหาตัวกระปุกเกียร์พวงมาลัย ในรถคันนี้เป็นแบบแร็คแอนด์พิเนี่ยนผลผลิตจากค่าย “Koyo

ขั้นแรกตรวจสอบความเสียหายกันก่อน ตรวจดูในจุดที่เป็นยางหุ้มแร็คเพื่อดูว่ามีคราบน้ำมันไหลออกมาบ้างหรือไม่ มีการฉีกขาดของตัวยางบ้างหรือเปล่า ตัวรัดยางหุ้มแร็คมีสภาพดีไหม รวมไปถึงตัวเช็คลูกหมากคันส่งไปด้วยเลยในคราวเดียว ถ้ามีปัญหาหลวมก็จับเปลี่ยนไปเลย เมื่อลงไปลูกคลำตัวกระบอกแร็คก็เห็นท่อแป๊ปน้ำมันลงมาฝังตัวอยู่สองจุดด้วยกัน จัดการไขออกมาทั้งสองจุด โดยไขจุดด้านข้างก่อนเพราะจุดตรงกลางตัวหัวน็อตจะไปติดขัดกับท่อแป๊ปน้ำมันของตัวด้านข้าง เมื่อคลาย   น็อตด้านข้างออกน้ำมันจะไหลลงมาอย่างทันที อย่าลืมนำถาดหรือฝาแกลลอนน้ำมันมารองให้ดี คราวนี้ท่อแป๊ปสามารถขยับได้แล้ว เราจึงไขน็อตท่อแป๊บกลางออกได้ ส่วนคนด้านบนให้พยายามเติมน้ำน้ำมันเพาเวอร์ไว้อย่าให้ขาดเดี๋ยวในระบบจะมีอากาศเข้าไปแทรกตัวอยู่ได้ น้ำมันจะไหลออกมาเรื่อย ดูจนเริ่มใสเป็นน้ำมันเพาเวอร์ของใหม่ที่ใส่เข้าไป ส่วนน้ำมันที่ตัวกระบอกแร็คนั้นถ้าต้องการเอาออกก็ให้ใช้เทคนิคโยกล้อเหมือนกับการบังคับเลี้ยว แต่ต้องระวังแรงในการดันตัวของน้ำมันเพาเวอร์ด้วยถ้าจะไม่ให้เลอะเทอะใช้สายยางมาต่อที่หัวเกลียวแล้วหาถาดมารองน้ำมันจะได้ไม่เลอะเทอะ

            มาสังเกตดูน้ำมันที่ไหลออกมาจากท่อแป๊ปดีกว่าว่าใสเหมือนใหม่รึยัง ถ้าใสดีแล้วให้ไขกลับเข้าที่ให้เรียบร้อย และถ้ามีเวลาว่างมากๆ ก็ควรถอดกระปุกน้ำมันเพาเวอร์ออกมล้างคราบสกปรกไปด้วย แต่พอดีวันนี้เราไปทำบรรยากาศไม่ค่อยเป็นใจครึ้มฟ้าครึ้มฝนทั้งวันกลัวว่าล้างมาแล้วจะไม่แห้ง คราวนี้จะลำบากเพราะระบบพวกนี้กลัวน้ำซะด้วยเมื่อเห็นท่าไม่ดีจึงไม่ถอดไม่ล้างดีกว่า

            มาว่ากันต่อที่ตัวแร็คพวงมาลัย เมื่อเราไขตัวแป๊ปน้ำมันเข้าเรียบร้อย ขั้นต่อไปจัดการสตาร์ทเครื่องยนต์แต่ระวังเครื่องยนต์สะบัดหล่นจากสามขา ให้เอาแม่แรงขึ้นประคองไว้ด้วย หรือไม่เช่นนั้นจัดการนำรถลงจากสามขาเลยจะปลอดภัยที่สุด เมื่อเครื่องยนต์ติดก็ให้หมุนพวงมาลัยจากซ้ายไปขวา และขวาไปซ้าย ทำซ้ำไปมา ส่วนผู้ช่วยอีกท่านให้เตรียมใส่น้ำมันเพาเวอร์ลงในกระปุก ซึ่งเมื่อโยกพวงมาลัยระดับน้ำมันเพาเวอร์จะยุบก็ให้ใส่จะระดับน้ำมันอยู่ที่ขีด “Max” เมื่อเรียบร้อยแล้วให้เช็คจุดที่เราไขแป๊ปน้ำมันเพาเวอร์ว่ามีการรั่วซึมหรือไม่ และเช็คคราบน้ำมันออกให้สะอาดเพื่อจะดูได้ง่าย แค่นี้เองก็เป็นอันจบวิธีการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเพาเวอร์แบบยาก

            แต่ถ้าเป็นแบบง่ายมันจะเลอะเทอะมากกว่านี้เพราะจะต้องสตาร์ทเครื่องยนต์เพื่อให้ตัวขับปั๊มเพาเวอร์ทำงาน และไม่ต้องไปถอดท่อแป๊ปด้านล่างให้ยุ่งยาก เพียงแค่ถอดสายยางไหลหลับที่ตัวกระปุกน้ำมันเพาเวอร์ออกเท่านั้น น้ำมันก็จะดันทะลักออกมาเต็มที่จากแรงดันตัวปั๊มเพาเวอร์ เมื่อเห็นน้ำมันเพาเวอร์ที่ไหลออกมาใสเป็นของใหม่ก็ดับเครื่องยนต์แล้วจับสายยางยัดเข้าที่เดิมพร้อมกับเติมน้ำมันเพาเวอร์ในกระปุกให้ถึงขีด “Max” ที่สำคัญต้องคอยตรวจคอยเติมน้ำมันเพาเวอร์อย่าให้หายหมดครับ


บทความรถยนต์ที่น่าสนใจ