เคล็ดลับซื้อรถมือสอง รวมเทคนิคและวิธีการเลือกซื้อรถมือสอง คลิก!! More

เทคนิครถยนต์: ติดปรับบูสท์ให้กับเทอร์โบโรงงาน

เทคนิครถยนต์: ติดปรับบูสท์ให้กับเทอร์โบโรงงาน

            เทคนิครถยนต์: รถกระบะทุกวันนี้ส่วนมากก็จะมีการติดตั้งเทอร์โบมาให้จากโรงงานอยู่แล้ว ด้วยความที่ไม่พอใจกับความแรงที่มีมาให้นั้นหลายคนก็ต่างไปสรรหาเทอร์โบตัวใหม่ที่ใหญ่กว่าเดิมมาใส่พร้อมปรับแต่งปั๊มเชื้อเพลิง  แล้วก็มีพวกมืออยู่ไม่สุขชอบคิดอะไรแปลก ๆ เพื่อหาทางทำให้เทอร์โบเดิม ๆ จากโรงงานที่บูสท์กันไม่กี่ปอนด์สามารถปรับบูสท์เพิ่มขึ้นจากเดิม

            เทคนิครถยนต์: อย่างที่เราเคยได้ยินกันว่า “อยากปรับบูสท์เพิ่มเหรอ รองแหวนซิ ดัดขาเวลท์เกทก็ได้ ไอ้เราก็ไม่ค่อยเข้าใจสักเท่าไหร่มีอาการงงเล็กน้อยถึงปานกลาง จนมีโอกาสได้มาถามผู้รอบรู้ว่าเค้าทำกันยังไงไอ้การรองแหวนเนี่ย ก็ได้รับคำตอบว่าการควบคุมแรงดันของตัวเทอร์โบว่าให้ทำงานได้เท่าไหร่นั้นมีตัวเวสท์เกท (Wastegate) ไว้ทำหน้าที่ควบคุมบูสท์เทอร์โบไม่ให้ทำงานเกินจากที่ตั้งมา การรองแหวนเป็นการรองที่ตัวฐานเวสท์เกท จากภายในตัวเวสท์เกทที่ต้องอาศัยแรงดันของลมมาเอาชนะแรงดันสปริงไปควบคุมขาเวสท์เกทให้ไปทำหน้าที่เปิดว่องให้แรงดันด้านไปเสียระบายออกก่อนจะไปปั่นใบเทอร์โบเกินกำหนดที่ตั้งไว้ เมื่อเราไปรองแหวนที่ฐานเวสท์เกทจะเป็นการเพิ่มเนื้อที่ให้กับตัวเวสท์เกททำให้แรงดันลมที่จะไปเอาชนะสปริงเพิ่มขึ้นด้วย เป็นผลให้แรงดันไปเสียไปปั่นใบเทอร์โบนานขึ้นและเทอร์โบก็จะปั่นอากาศเข้าเพิ่มขึ้นด้วย ผลที่ได้คืออากาศเข้ามากขึ้น การจุดระเบิดแรงขึ้นการเผาไหม้ก็ดีขึ้นด้วย แรงม้าจึงเพิ่มขึ้นตามมา แต่ข้อควรระวังคือเทอร์โบอาจทำงานหนักเกินไปเป็นผลเสียต่อตัวมันเองโดยอายุขัยจะสั้นลงเพราะถ้าเป็นสเป็คจากโรงงานจะกำหนดอัตราบูสท์มาไม่มากนักเพื่อให้อายุการใช้งานยาวนาน

           เทคนิครถยนต์: ในคราวนี้เราจะไม่ใช้การรองแหวนหรือตัดขาใด ๆ เลย แต่จะใช้ตัวควบคุมบูสท์ที่เรียกกันว่าปรับบูสท์มือ ตอนแรกก็อยากจะไฮเทคสักนิดกับการใช้เป็นตัวปรับบูสท์ไฟฟ้าพอดูราคาล้าแทบหงายหลังขนาดของมือสองยังราคาหลายพันเลย จึงตัดสินใจหันมาใช้ปรับบูสท์มือดีกว่าราคาไม่แพงมือสองของมียี่ห้ออย่างพวก TRUST , HKS , GReddy ราคาอยู่ที่พันกว่า ๆ เท่านั้นและยังตัวปรับบูสท์มือที่ชื่อ SMC ที่ได้รับความนิยมแต่ความจริงเจ้า SMC เป็นตัวปรับแรงดันในระบบอุตสาหกรรมที่มีความแม่นยำสูงด้วยคุณสมบัติที่คล้ายกันจึงมีการนำมาประยุกต์ใช้ ราคาตัวหนึ่งไม่เกิน 1,000 บาท ความต่างของปรับบูสท์ไฟฟ้านั้นสามารถกดตั้งได้เลยว่าจะบูสท์กี่ปอนด์ส่วนปรับบูสท์มือนั้นต้องหมุน ๆ สุ่มไปไม่รู้ว่าบูสท์ขึ้นเท่าไหร่จึงต้องหาเกจ์วัดบูสท์มาใส่ เพื่อที่จะได้รู้ค่าบูสท์ว่าปรับไปถึงไหนแล้ว แต่ไม่เป็นไรในเมื่อตัวเกจ์วัดบูสท์มีพร้อมแล้วเราจึงไปเล่นของถูกดีกว่า 

            เทคนิครถยนต์เรื่องของอุปกรณ์นั้นไม่มากมายมีสายยางที่ทนแรงดันและคามร้อนในห้องเครื่องได้จึงใช้สายซิลิโคนกะความยาวซื้อมาให้พอจะได้ไม่ต้องวิ่งไปซื้อหลายรอง ต่อมาพระเอกของงานคือตัวปรับบูสท์ แล้วก็มีพวกสายรัดหรือที่เรียกว่า “เคเบิ้ลไท” ข้อต่อสามทางที่จะแยกสายไปที่ตัวเกจ์วัดบูสท์ ส่วนที่เหลือก็เป็นฝีมือในการทำ

            ขั้นแรกจัดการถอดอุปกรณ์ที่เกะกะออกเพื่อจะทำให้สะดวกในการลงมือเราจะได้เห็นเทอร์โบชัดเจน จัดการถอดสายยางออกมาจากท่อเล็กที่อยู่ด้านโข่งไอดีไปต่อกับตัวเวสท์เกทออก แล้วจับสายซิลิโคนที่ซื้อมายัดไปทั้งสองด้าน โดยของคันนี้มีการใช้สายซิลิโคนสีน้ำเงินอยู่ก่อนหน้าแล้ว คราวนี้เราก็ไปซื้อสายซิลิโคนมาแต่เป็นสีขาวขนาดท่อเท่ากันแต่รูดันเล็กกว่าสายสีน้ำเงิน การจับยึดจึงยากเป็นพิเศษต้องใช้กำลังกันเล็กน้อยพอให้เหงื่อตก

           เทคนิครถยนต์: เมื่อเสร็จภารกิจจากด้านนี้แล้วก็จะเป็นการใส่สายยางเข้าไปในห้องโดยสาร ผ่านทางช่องที่ทำทำไว้เพื่อให้สายไฟต่าง ๆ จากในห้องเครื่องเข้าไปทางช่องนี้เช่นกัน โดยช่องนี้เคยโดนยัดสายเกจ์วัดบูสท์มาก่อนจึงทำให้ง่ายต่อการจับยัดในคราวนี้ สายสีน้ำเงินซึ่งเมื่อก่อนนั้นต่อเข้ากับเกจ์วัดบูสท์เวลานี้ต้องมีการตัดสายเพื่อต่อสามทางเพื่อจะนำสายอีกเส้นต่อไปยังตัวปรับบูสท์โดยผ่านเกจ์วัดบูสท์ก่อน

           

บทความรถยนต์ที่น่าสนใจ