เคล็ดลับซื้อรถมือสอง รวมเทคนิคและวิธีการเลือกซื้อรถมือสอง คลิก!! More

รู้เขารู้เรา เผยวิธีการโจรกรรมรถ ตอนที่ 3 (จบ)

ทำอย่างไรเมื่อรถถูกโจรกรรม

คราวซวยและเคราะห์หามยามร้ายไม่เข้าใครออกใคร และเป็นที่น่าสงสารและเห็นใจสำหรับคนทำงนที่เก็บหอมรอมริบกว่าจะได้รถมือสองสักคันมาขับ แต่ในปัจจุบันโจรผู้ร้ายก็มีมากขึ้น วิธีการต่าง ๆ ก็มีมากขึ้นจนสุจริตชนตามไม่ทัน ที่เป็นเช่นนี้เพราะคนร้ายในวงการโจรกรรมรถยนต์ต่างมีเครือข่ายความสัมพันธ์ระหว่างคนร้าย ไปจนถึงกระบวนการดัดแปลงสภาพตัวรถที่ได้จากการโจรกรรม ดัดแปลงแก้ไขเอกสารประกอบรถ เพื่อให้สอดคล้องกับการนำรถไปจำหน่ายยังต่างประเทศในลักษณะรถที่ไม่มีทะเบียน นำไปจำหน่ายโดยสวมทะเบียนกับรถคันอื่น

แต่หากเห็นคนร้ายกำลังขโมยรถของคุณหรือของคนอื่น ควรตั้งสติไว้ให้ดี อย่าตื่นอย่าคุกคาม รอดูทีท่า จดจำลักษณะของพวกมันไว้ (ในกรณีที่เห็นซึ่งหน้าแต่พวกมันไม่เห็นคุณ) แล้วรีบโทรศัพท์แจ้งตำรวจ ให้รีบมาจับกุมให้ทันท่วงที แต่ถ้าเห็นว่าไม่ทันการณ์ เพราะกว่าที่ตำรวจจะมาถึงคนร้ายก็เอารถไปได้แล้ว เราควรใช้สิทธิ์ป้องกันทรัพย์สิน ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 68 บัญญัติว่า

“ผู้ใดจำต้องกระทำการใด เพื่อป้องกันสิทธิ์ของตนหรือของผู้อื่น ให้พ้นภยันตรายที่ใกล้จะถึง ถ้าได้กระทำพอสมควรแก่เหตุ การกระทำนั้นเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้นั้นไม่มีความผิด ”

คือ เจ้าจองทรัพย์มีสิทธิ์จะป้องกันสิทธิ์ในชีวิต ร่างกายและสิทธิ์ในทรัพย์สิน แต่ต้องกระทำไปโดยพอสมควรแก่เหตุ เช่น คนร้ายมีแต่มือเปล่า ๆ กำลังขโมยรถ แต่ถูกเจ้าของยิงตาย ถือว่าเกินกว่าเหตุ แต่หากคนร้ายมีอาวุธปืน ซึ่งเตือนแล้วแต่คนร้ายจะยิง ทว่าเรายิงคนร้ายตายก่อน เป็นการป้องกันที่สมควรแก่เหตุไม่ผิดกฎหมาย สำหรับในเรื่องการตรมจับคนร้ายนั้น ก็สามารถทำได้ภายใต้หลักกฎหมาย คือ เมื่อพบผู้ที่กระทำผิดซึ่งหน้าและความผิดนั้นกฎหมายให้อำนาจจับได้

ความผิดซึ่งหน้า หมายความว่า ความผิดที่เห็นกำลับกระทำ เช่น เห็นคนร้ายกำลังงัดรถยนต์ ถือเป็นความผิดซึ่งหน้า เข้าจับกุมได้ทันทีไม่ต้องรอตำรวจ แต่ข้อกฎหมายกำหนดไว้ว่า ความผิดที่ว่าซึ่งหน้านั้น ต้องเป็นความผิดที่มีโทษสูง เช่น ลักทรัพย์ วิ่งราว ปล้นทรัพย์

อีกทางหนึ่งสามารถขอความช่วยเหลือให้คนที่อยู่ใกล้เคียง เพื่อช่วยจับกุมคนร้ายได้ หมายความว่า ตำรวจเขาออกหมายจับคนร้ายหรือหาพยานในที่เกิดเหตุเพื่อทราบเบาะแส หากรถหายไปแล้วหรือตามจับไม่ทัน จากนั้นจึงแจ้งตำรวจจะทำให้สกัดจับได้อย่างรวดเร็ว การที่รถหายนั้นถ้าแจ้งตำรวจให้เร็วที่สุดเพียงใด โอกาสที่จะได้รถคืนก็มีมากที่สุดเท่านั้น และเพื่อความรวดเร็วในกรุงเทพฯ ควรโทรโดยตรงดังต่อไปนี้

-ศูนย์ผ่านฟ้า 191 โทร.246-1312-8
-ศูนย์รามา กรณีรถหายในเขต บกน.หรือ กองบังคับการตำรวจนครบาลเหนือ โทร.245-071-3 (3)
-ศูนย์นารายณ์ กรณีรถหายในเขต บกน.ได้ หรือกองคับการตำรวจนครบาลใต้ โทร.234-5678
-ศูนย์ บกน.ธน. คือ กองบังคับการตำรวจนครบาลธนบุรี โทร.413-1653-6
-ศูนย์ ศปร.น. คือ ศูนย์ป้องกันปราบปรามโจรกรรมรถยนต์และจักรยายยนต์กองบัญชาการตำรวจนครบาล โทร.245-6951,245-9059

สำหรับต่างจังหวัดติดต่อโทรศัพท์ไปยังสถานีตำรวจและกองกำกับการต่าง ๆ พร้อมบอกรายละเอียดเกี่ยวกับรถให้ถูกต้องและรวดเร็ว ซึ่งรายละเอียดเหล่านี้ต้องจดติดไว้ในกระเป๋าเงินตลอดเพื่อพกพาและนำออกมาใช้ได้ในยามฉุกเฉิน

“เช่น รถวีโก้สีดำ รุ่น .... ทะเบียน 8ด-845 กทม. หมายเลขเครื่อง 9 D-736291 หมายเลขตัวถัง 4 M-32412345-64 ตำหนิกระจกหน้าแตกเป็นรู คิ้วด้านซ้ายล้อหน้าบุบ” เป็นต้น

เพื่อที่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะสามารถตามได้ตรงกันและเป็นวิธีที่ช่วยตำรวจได้ดีที่สุด จากนั้นจึงแจ้งความที่สถานีตำรวจ ด้วยการเตรียมเอกสารดังต่อไปนี้

-บัตรประจำตัวประชาชน
-ใบทะเบียนบ้าน
-บัตรประจำตัวข้าราชการ
-หนังสือเดินทาง พาสปอร์ตสำหรับชาวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาภายในประเทศ
-ถ้าไปแจ้งความแทนคนอื่นที่เป็นเจ้าของรถ ให้มีใบมอบอำนาจเจ้าของรถให้ไปแจ้งความด้วย
-ถ้าเป็นผู้แทนผู้เยาว์หรือไร้ความสามารถ ก็ให้เตรียมใบสำคัญแสดงการเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ หรือใบสำคัญแสดงการเป็นผู้อนุบาลของผู้ไร้ความสามารถตามคำสั่งศาลติดตัวไปด้วย
-ใบคู่มือประจำรถ เอกสารประจำรถ ใบทะเบียนรถ
-หากเป็นรถผ่อนส่ง ก็ให้นำสัญญาเช่าซื้อติดตัวไปด้วย
ให้ภาพถ่ายรถให้แก่ตำรวจไว้ ถ้ามีภาพถ่ายรถของเราหลาย ๆ ภาพเป็นภาพสีให้กับตำรวจไว้ เมื่อแจ้งความแล้วควรขอคัดสำเนาการแจ้งความจากตำรวจไว้เป็นหลักฐาน

หากปฏิบัติได้ดังนี้ โอกาสที่คุณจะได้รถกลับคืนมาจึงมีอยู่สูงเช่นกัน

บทความรถยนต์ที่เกี่ยวข้อง

บทความรถยนต์ที่น่าสนใจ