หลายคนเวลาที่ถึงเวลาต้องเสียภาษีรถยนต์ประจำปี ก็จำเป็นต้องไปทำ
ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พรบ.) ซึ่งกฎหมายได้บังคับไว้ว่าต้องทำ หากไม่ทำก็ไม่สามารถทำการต่อภาษีได้ ซึ่งหลายคนอาจจะยังไม่รู้ถึงความคุ้มครองกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ ว่าเราในฐานะผู้เอา
ประกันภัยรถยนต์ จะได้รับสิทธิ์คุ้มครองตามกฎหมายอะไรบ้าง
วันนี้ผมขอเอาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการ
ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พรบ.) มาเผยแพร่แก่คุณผู้อ่านทุกท่านได้รับทราบ และสามารถนำเอาข้อมูลนี้ไปเป็นแนวทางปฏิบัติในกรณีที่ประสบอุบัติเหตุได้
การทำประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พรบ.)
การ
ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ หรือที่คนส่วนใหญ่เรียกกันว่า “ประกัน พรบ.” เป็นการ
ประกันภัยรถยนต์ที่กฏหมายบังคับให้รถทุกคัน ทุกประเภท ต้องทำประกันภัย (ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พศ. 2535) เพื่อให้ความคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนผู้ประสบภัยจากรถ ซึ่งได้รับความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย ให้ได้รับการชดใช้ค่าเสียหายและค่าเสียหายเบื้องต้นอย่างทันท่วงที และเป็นหลักประกันแก่สถานพยาบาลทุกแห่งว่าได้รับค่ารักษาพยาบาลในกรณีที่ให้การรักษาแก่ผู้ประสบภัยจากรถแน่นอน
ประเภทรถที่ต้องทำประกันภัยตาม พ.ร.บ.
รถที่ต้องทำ
ประกันภัยรถยนต์ตาม พ.ร.บ. ได้แก่รถทุกชนิดทุกประเภทตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ กฎหมายว่าด้วย การขนส่งทางบก กฎหมายว่าด้วยรถยนต์ทหาร ที่เจ้าของมีไว้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ ไม่ว่ารถดังกล่าวจะเดินด้วย กำลังเครื่องยนต์ กำลังไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถสามล้อเครื่อง รถยนต์โดยสาร รถบรรทุก หัวรถลากจูง รถพ่วง รถบดถนน รถอีแต๋น ฯลฯ
ดังนั้น รถบางประเภทที่กรมการขนส่งทางบกไม่รับจดทะเบียน แต่หากเข้าข่ายว่ารถนั้นเดินด้วยกำลังเครื่องยนต์ กำลังไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น ให้จัดเป็นรถที่ต้องทำ ประกันภัยตาม พ.ร.บ.
ผู้มีหน้าที่ต้องทำประกันภัยรถภาคบังคับ (พ.ร.บ.)
1. เจ้าของรถ (ผู้มีกรรมสิทธิ์ในรถ)
2. ผู้เช่าซื้อรถ (ผู้ครอบครองรถในฐานะผู้เช่าซื้อรถ)
3. เจ้าของรถซึ่งนำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศเข้ามาใช้ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว
บทลงโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535
> เจ้าของรถหรือผู้เช่าซื้อรถผู้ใด ไม่จัดให้มีการประกันภัยตาม พ.ร.บ. นี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000.- บาท
> ผู้ใดนำรถที่ไม่ได้จัดให้มีการประกันภัยตาม พ.ร.บ. นี้มาใช้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000.- บาท
> เจ้าของรถหรือผู้เช่าซื้อรถผู้ใด ไม่ติดเครื่องหมายแสดงว่ามีการประกันภัยตาม พ.ร.บ. นี้
ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000.- บาท
> ผู้ประสบภัยผู้ใดยื่นคำขอรับชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้น โดยทุจริตหรือแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จเพื่อขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นตามนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000.- บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
> บริษัทประกันวินาศภัยซึ่งได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการรับประกันภัยรถบริษัทใดฝ่าฝืนไม่ยอมรับประกันภัยตามนี้ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 50,000.- บาท ถึง 25,000.- บาท
> เมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้นแก่ผู้ประสบภัยจากรถที่บริษัทได้รับประกันภัยไว้ หากบริษัทใดไม่จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น ให้แก่ผู้ประสบภัย (หรือทายาท) ให้เสร็จสิ้นภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับการร้องขอจากผู้ประสบภัย ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 10,000.- บาท ถึง 50,000.- บาท
> ผู้ใดปลอมเครื่องหมาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี และปรับตั้งแต่ 10,000.- บาท ถึง 100,000.- บาท
> ผู้ใดติดหรือแสดงเครื่องหมายอันเกิดจากการปลอมเครื่องหมายกับรถคันหนึ่งคันใด ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับการปลอมเครื่องหมาย
> เจ้าของรถผู้ใดติดเครื่องหมายหรือแสดงเครื่องหมายที่ต้องส่งคืนต่อนายทะเบียน หรือเครื่องหมายที่ใช้ต่อไปไม่ได้แล้วต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000.- บาท
ผู้ที่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.
1. ผู้ประสบภัยจากรถ อันได้แก่ประชาชนทุกคนที่ประสบภัยจากรถ ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร คนเดินเท้าหากได้รับความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย อันเนื่องมาจากอุบัติเหตุที่เกิดจากรถ ก็จะได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ. นี้
2. ทายาทของผู้ประสบภัยข้างต้นกรณีผู้ประสบภัยเสียชีวิต
ความเสียหายที่ได้รับความคุ้มครอง
ค่าเสียหายที่ผู้ประสบภัยหรือทายาทจะได้รับการชดใช้มีดังนี้
1.ค่าเสียหายเบื้องต้น
ผู้ประสบภัยจะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นโดยไม่ต้องพิสูจน์ความผิดภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ยื่นคำขอให้มีการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนกับบริษัทประกันภัยโดยมีรายการดังนี้
กรณีบาดเจ็บโดยไม่ถึงกับสูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพ จะได้รับค่ารักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามความเสียหายที่แท้จริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาท ได้แก่
- ค่ายา ค่าอาการทางเส้นเลือด ค่าอ๊อกซิเจน และอื่น ๆ ทำนองเดียวกัน
- ค่าอวัยวะเทียม อุปกรณ์ในการบำบัดรักษา รวมทั้งค่าซ่อมแซม
- ค่าบริการทางการแพทย์ ค่าตรวจ ค่าวิเคราะห์โรค ทั้งนี้ไม่รวมถึงค่าจ้างพยาบาลพิเศษ
และค่าบริการอื่นทำนองเดียวกัน
- ค่าห้องและค่าอาหารตลอดเวลาที่เข้ารับการรักษาพยาบาล
- ค่าพาหนะนำผู้ประสบภัยไปโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล
1.2 กรณีสูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพ จะได้รับการชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นจำนวน 30,000 บาท/คน
จากกรณีใดกรณีหนึ่งหรือหลายกรณี ดังต่อไปนี้
- ตาบอด
- หูหนวก
- เป็นใบ้ หรือเสียความสามารถในการพูด หรือลิ้นขาด
- สูญเสียอวัยวะสืบพันธุ์
- สูญเสียแขน ขา มือ เท้า นิ้ว หรืออวัยวะอื่นใด
- จิตพิการอย่างติดตัว
- ทุพพลภาพอย่างถาวร
1.3 กรณีเสียชีวิต ทายาทโดยชอบธรรมจะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นเป็นค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการจัดการศพ โดยได้รับชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นจำนวน 30,000 บาท/คน
1.4 กรณีเสียชีวิตหลังจากมีการรักษาพยาบาล จะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นสำหรับเป็นค่ารักษาพยาบาลและค่าปลงศพรวมกันแล้วไม่เกิน 30,000 บาท
ความเสียหายเบื้องต้นทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของการจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามพระราชบัญญัติฯ
2.ค่าเสียหายส่วนที่เกินค่าเสียหายเบื้องต้น
ค่าเสียหายส่วนที่เกินกว่าค่าเสียหายเบื้องต้นโดยต้องรอพิสูจน์ความผิดก่อน ผู้ประสบภัยจะได้รับการชดใช้ดังกล่าว เมื่อรวมกับค่าเสียหายเบื้องต้นในข้อ 1 แล้วดังนี้
- กรณีบาดเจ็บ จ่ายตามความเสียหายที่แท้จริงแต่ไม่เกิน 50,000 บาท/คน
- กรณีสูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพ จะได้รับการชดใช้ 100,000 บาท/คน
- กรณีเสียชีวิต จะได้รับการชดใช้เป็นค่าปลงศพ 10,000 บาท/คน
- กรณีเสียชีวิตหลังจากมีการรักษาพยาบาล จะได้รับการชดใช้ค่าเสียหายรวมกันเป็นเงิน 100,000 บาท/คน (เป็นค่ารักษาพยาบาล+ค่าปลงศพ)
ในกรณีที่ผู้ประสบภัยเป็นผู้ขับขี่และเป็นฝ่ายที่ต้องรับผิดต่ออุบัติเหตุ หรือไม่มีผู้ใดต้องรับผิดตามกฎหมายต่อผู้ขับขี่ที่ประสบภัย ผู้ขับขี่จะได้รับการชดใช้เฉพาะค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น
ค่าเสียหายส่วนที่เกินกว่าที่พระราชบัญญัติฯ กำหนด ผู้ประสบภัยสามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนได้จากผู้กระทำละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
วิธีการจัดทำประกันภัย
1.ถ่ายสำเนาเอกสารคู่มือการจดทะเบียนรถและบัตรประจำตัวประชาชน
2.นำเอกสารไปติดต่อบริษัทประกันภัยที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประกันภัยรถ รวมถึงสาขาของบริษัททั่วประเทศแจ้งความประสงค์ขอทำประกันภัยรถ
3.รับกรมธรรม์ประกันภัย ซึ่งจะเป็นใบเสร็จรับเงินด้วย
4.รับเครื่องหมายแสดงว่ามีการประกันภัย พร้อมตรวจสอบข้อมูลบนเครื่องหมายให้ถูกต้อง เช่น ชื่อบริษัทประกันภัย ชื่อรถ หมายเลขทะเบียนรถ หมายเลขตัวถัง ระยะเวลาสิ้นสุด และนำไปติดไว้ที่กระจกรถด้านใน หรือหากเป็นรถประเภทอื่นที่ ไม่ใช่รถยนต์ต้องติดไว้ในที่ ๆ สามารถเห็นได้ชัดเจน
เมื่อคุณผู้อ่านทุกท่านได้รับทราบและเข้าใจถึงการทำประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พรบ.) กันไปแล้ว ต่อไปเมื่อเกิดอุบัติเหตุ หรือประสบเหตุการณ์ที่จำเป็นต้องใช้ พรบ. ก็สามารถนำเอาความรู้นี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ครับ
ไปหน้าแรก ข่าวสารรถยนต์
ขอบคุณข้อมูลที่เป็นประโยชน์จาก www.tqm.co.th
หลายคนเวลาที่ถึงเวลาต้องเสียภาษีรถยนต์ประจำปี ก็จำเป็นต้องไปทำ
ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พรบ.) ซึ่งกฎหมายได้บังคับไว้ว่าต้องทำ หากไม่ทำก็ไม่สามารถทำการต่อภาษีได้ ซึ่งหลายคนอาจจะยังไม่รู้ถึงความคุ้มครองกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ ว่าเราในฐานะผู้เอา
ประกันภัยรถยนต์ จะได้รับสิทธิ์คุ้มครองตามกฎหมายอะไรบ้าง
วันนี้ผมขอเอาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการ
ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พรบ.) มาเผยแพร่แก่คุณผู้อ่านทุกท่านได้รับทราบ และสามารถนำเอาข้อมูลนี้ไปเป็นแนวทางปฏิบัติในกรณีที่ประสบอุบัติเหตุได้
การทำประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พรบ.)
การ
ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ หรือที่คนส่วนใหญ่เรียกกันว่า “ประกัน พรบ.” เป็นการ
ประกันภัยรถยนต์ที่กฏหมายบังคับให้รถทุกคัน ทุกประเภท ต้องทำประกันภัย (ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พศ. 2535) เพื่อให้ความคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนผู้ประสบภัยจากรถ ซึ่งได้รับความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย ให้ได้รับการชดใช้ค่าเสียหายและค่าเสียหายเบื้องต้นอย่างทันท่วงที และเป็นหลักประกันแก่สถานพยาบาลทุกแห่งว่าได้รับค่ารักษาพยาบาลในกรณีที่ให้การรักษาแก่ผู้ประสบภัยจากรถแน่นอน
ประเภทรถที่ต้องทำประกันภัยตาม พ.ร.บ.
รถที่ต้องทำ
ประกันภัยรถยนต์ตาม พ.ร.บ. ได้แก่รถทุกชนิดทุกประเภทตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ กฎหมายว่าด้วย การขนส่งทางบก กฎหมายว่าด้วยรถยนต์ทหาร ที่เจ้าของมีไว้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ ไม่ว่ารถดังกล่าวจะเดินด้วย กำลังเครื่องยนต์ กำลังไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถสามล้อเครื่อง รถยนต์โดยสาร รถบรรทุก หัวรถลากจูง รถพ่วง รถบดถนน รถอีแต๋น ฯลฯ
ดังนั้น รถบางประเภทที่กรมการขนส่งทางบกไม่รับจดทะเบียน แต่หากเข้าข่ายว่ารถนั้นเดินด้วยกำลังเครื่องยนต์ กำลังไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น ให้จัดเป็นรถที่ต้องทำ ประกันภัยตาม พ.ร.บ.
ผู้มีหน้าที่ต้องทำประกันภัยรถภาคบังคับ (พ.ร.บ.)
1. เจ้าของรถ (ผู้มีกรรมสิทธิ์ในรถ)
2. ผู้เช่าซื้อรถ (ผู้ครอบครองรถในฐานะผู้เช่าซื้อรถ)
3. เจ้าของรถซึ่งนำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศเข้ามาใช้ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว
บทลงโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535
> เจ้าของรถหรือผู้เช่าซื้อรถผู้ใด ไม่จัดให้มีการประกันภัยตาม พ.ร.บ. นี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000.- บาท
> ผู้ใดนำรถที่ไม่ได้จัดให้มีการประกันภัยตาม พ.ร.บ. นี้มาใช้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000.- บาท
> เจ้าของรถหรือผู้เช่าซื้อรถผู้ใด ไม่ติดเครื่องหมายแสดงว่ามีการประกันภัยตาม พ.ร.บ. นี้
ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000.- บาท
> ผู้ประสบภัยผู้ใดยื่นคำขอรับชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้น โดยทุจริตหรือแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จเพื่อขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นตามนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000.- บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
> บริษัทประกันวินาศภัยซึ่งได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการรับประกันภัยรถบริษัทใดฝ่าฝืนไม่ยอมรับประกันภัยตามนี้ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 50,000.- บาท ถึง 25,000.- บาท
> เมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้นแก่ผู้ประสบภัยจากรถที่บริษัทได้รับประกันภัยไว้ หากบริษัทใดไม่จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น ให้แก่ผู้ประสบภัย (หรือทายาท) ให้เสร็จสิ้นภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับการร้องขอจากผู้ประสบภัย ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 10,000.- บาท ถึง 50,000.- บาท
> ผู้ใดปลอมเครื่องหมาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี และปรับตั้งแต่ 10,000.- บาท ถึง 100,000.- บาท
> ผู้ใดติดหรือแสดงเครื่องหมายอันเกิดจากการปลอมเครื่องหมายกับรถคันหนึ่งคันใด ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับการปลอมเครื่องหมาย
> เจ้าของรถผู้ใดติดเครื่องหมายหรือแสดงเครื่องหมายที่ต้องส่งคืนต่อนายทะเบียน หรือเครื่องหมายที่ใช้ต่อไปไม่ได้แล้วต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000.- บาท
ผู้ที่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.
1. ผู้ประสบภัยจากรถ อันได้แก่ประชาชนทุกคนที่ประสบภัยจากรถ ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร คนเดินเท้าหากได้รับความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย อันเนื่องมาจากอุบัติเหตุที่เกิดจากรถ ก็จะได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ. นี้
2. ทายาทของผู้ประสบภัยข้างต้นกรณีผู้ประสบภัยเสียชีวิต
ความเสียหายที่ได้รับความคุ้มครอง
ค่าเสียหายที่ผู้ประสบภัยหรือทายาทจะได้รับการชดใช้มีดังนี้
1.ค่าเสียหายเบื้องต้น
ผู้ประสบภัยจะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นโดยไม่ต้องพิสูจน์ความผิดภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ยื่นคำขอให้มีการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนกับบริษัทประกันภัยโดยมีรายการดังนี้
กรณีบาดเจ็บโดยไม่ถึงกับสูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพ จะได้รับค่ารักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามความเสียหายที่แท้จริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาท ได้แก่
- ค่ายา ค่าอาการทางเส้นเลือด ค่าอ๊อกซิเจน และอื่น ๆ ทำนองเดียวกัน
- ค่าอวัยวะเทียม อุปกรณ์ในการบำบัดรักษา รวมทั้งค่าซ่อมแซม
- ค่าบริการทางการแพทย์ ค่าตรวจ ค่าวิเคราะห์โรค ทั้งนี้ไม่รวมถึงค่าจ้างพยาบาลพิเศษ
และค่าบริการอื่นทำนองเดียวกัน
- ค่าห้องและค่าอาหารตลอดเวลาที่เข้ารับการรักษาพยาบาล
- ค่าพาหนะนำผู้ประสบภัยไปโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล
1.2 กรณีสูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพ จะได้รับการชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นจำนวน 30,000 บาท/คน
จากกรณีใดกรณีหนึ่งหรือหลายกรณี ดังต่อไปนี้
- ตาบอด
- หูหนวก
- เป็นใบ้ หรือเสียความสามารถในการพูด หรือลิ้นขาด
- สูญเสียอวัยวะสืบพันธุ์
- สูญเสียแขน ขา มือ เท้า นิ้ว หรืออวัยวะอื่นใด
- จิตพิการอย่างติดตัว
- ทุพพลภาพอย่างถาวร
1.3 กรณีเสียชีวิต ทายาทโดยชอบธรรมจะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นเป็นค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการจัดการศพ โดยได้รับชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นจำนวน 30,000 บาท/คน
1.4 กรณีเสียชีวิตหลังจากมีการรักษาพยาบาล จะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นสำหรับเป็นค่ารักษาพยาบาลและค่าปลงศพรวมกันแล้วไม่เกิน 30,000 บาท
ความเสียหายเบื้องต้นทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของการจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามพระราชบัญญัติฯ
2.ค่าเสียหายส่วนที่เกินค่าเสียหายเบื้องต้น
ค่าเสียหายส่วนที่เกินกว่าค่าเสียหายเบื้องต้นโดยต้องรอพิสูจน์ความผิดก่อน ผู้ประสบภัยจะได้รับการชดใช้ดังกล่าว เมื่อรวมกับค่าเสียหายเบื้องต้นในข้อ 1 แล้วดังนี้
- กรณีบาดเจ็บ จ่ายตามความเสียหายที่แท้จริงแต่ไม่เกิน 50,000 บาท/คน
- กรณีสูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพ จะได้รับการชดใช้ 100,000 บาท/คน
- กรณีเสียชีวิต จะได้รับการชดใช้เป็นค่าปลงศพ 10,000 บาท/คน
- กรณีเสียชีวิตหลังจากมีการรักษาพยาบาล จะได้รับการชดใช้ค่าเสียหายรวมกันเป็นเงิน 100,000 บาท/คน (เป็นค่ารักษาพยาบาล+ค่าปลงศพ)
ในกรณีที่ผู้ประสบภัยเป็นผู้ขับขี่และเป็นฝ่ายที่ต้องรับผิดต่ออุบัติเหตุ หรือไม่มีผู้ใดต้องรับผิดตามกฎหมายต่อผู้ขับขี่ที่ประสบภัย ผู้ขับขี่จะได้รับการชดใช้เฉพาะค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น
ค่าเสียหายส่วนที่เกินกว่าที่พระราชบัญญัติฯ กำหนด ผู้ประสบภัยสามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนได้จากผู้กระทำละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
วิธีการจัดทำประกันภัย
1.ถ่ายสำเนาเอกสารคู่มือการจดทะเบียนรถและบัตรประจำตัวประชาชน
2.นำเอกสารไปติดต่อบริษัทประกันภัยที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประกันภัยรถ รวมถึงสาขาของบริษัททั่วประเทศแจ้งความประสงค์ขอทำประกันภัยรถ
3.รับกรมธรรม์ประกันภัย ซึ่งจะเป็นใบเสร็จรับเงินด้วย
4.รับเครื่องหมายแสดงว่ามีการประกันภัย พร้อมตรวจสอบข้อมูลบนเครื่องหมายให้ถูกต้อง เช่น ชื่อบริษัทประกันภัย ชื่อรถ หมายเลขทะเบียนรถ หมายเลขตัวถัง ระยะเวลาสิ้นสุด และนำไปติดไว้ที่กระจกรถด้านใน หรือหากเป็นรถประเภทอื่นที่ ไม่ใช่รถยนต์ต้องติดไว้ในที่ ๆ สามารถเห็นได้ชัดเจน
เมื่อคุณผู้อ่านทุกท่านได้รับทราบและเข้าใจถึงการทำประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พรบ.) กันไปแล้ว ต่อไปเมื่อเกิดอุบัติเหตุ หรือประสบเหตุการณ์ที่จำเป็นต้องใช้ พรบ. ก็สามารถนำเอาความรู้นี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ครับ
ไปหน้าแรก ข่าวสารรถยนต์
ขอบคุณข้อมูลที่เป็นประโยชน์จาก www.tqm.co.th